เมนู

ดูก่อนคฤหบดี ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.
โปตลิยคฤหบดีทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

ธรรมเครื่องตัดโวหาร 8 ประการ


[38] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี ธรรม 8 ประ-
การนี้ย่อมเป็นไปเพื่อตัดขาดโวหารในวินัยของพระอริยะ. 8 ประการเป็นไฉน
คือ ปาณาติบาตพึงละได้เพราะอาศัยการไม่ฆ่าสัตว์ อทินนาทาน พึงละได้เพราะ
อาศัยการถือเอาแต่ของที่เขาให้ มุสาวาทพึงละได้เพราะอาศัยวาจาสัตย์
ปิสุณาวาจาพึงละได้เพราะอาศัยวาจาไม่ส่อเสียด ความโลภด้วยสามารถความ
กำหนัดพึงละได้เพราะอาศัยความไม่โลภด้วยสามารถความกำหนัด ความโกรธ
ด้วยสามารถแห่งการนินทาพึงละได้เพราะความไม่โกรธ ด้วยสามารถแห่งการ
นินทา ความคับแค้นด้วยความสามารถแห่งความโกรธพึงละได้เพราะอาศัย
ความไม่คับแค้นด้วยสามารถความโกรธ ความดูหมิ่นท่านพึงละได้เพราะอาศัย
ความไม่ดูหมิ่นท่าน ดูก่อนคฤหบดี ธรรม 8 ประการนี้แล เรากล่าวโดยย่อ
ยังมิได้จำแนกโดยพิสดาร ย่อมเป็นไปเพื่อตัดขาดโวหารในวินัยของพระอริยะ.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ธรรม 8 ประการนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
โดยย่อมิได้ทรงจำแนกโดยพิสดาร ย่อมเป็นไปเพื่อตัดขาดโวหารในวินัยของ
พระอริยะ ดีละ พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยความกรุณา
จำแนกธรรม 8 ประการนี้ โดยพิสดารแก่ข้าพเจ้าเถิด.
ดูก่อนคฤหบดี ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.
โปตลิยคฤหบดีทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

[39] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี ก็คำที่เรากล่าว
ดังนี้ว่า ปาณาติบาตพึงละได้เพราะอาศัยการไม่ฆ่าสัตว์ เรากล่าวเพราะอาศัย
อะไร ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เรา
พึงทำปาณาติบาตเพราะเหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัด
สังโยชน์เหล่านั้น อนึ่งเราพึงทำปาณาติบาต แม้ตนเองพึงติเตียนตนได้เพราะ
ปาณาติบาตเป็นปัจจัย วิญญูชนพิจารณาแล้ว พึงติเตียนได้ เพราะปาณาติบาต
เป็นปัจจัย. เมื่อตายไปทุคติเป็นอันหวังได้ เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย ปาณา-
ติบาตนี้นั่นแหละ เป็นตัวสังโยชน์ เป็นตัวนิวรณ์ อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุ
คับแค้นและกระวนกระวายเหล่าใด พึงเกิดขึ้นเพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย เมื่อ
บุคคลงดเว้นจากปาณาติบาตแล้ว อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวาย
เหล่านั้น ย่อมไม่มี คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ปาณาติบาตพึงละได้เพราะอาศัย
การไม่ฆ่าสัตว์ เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้.
[40] ก็คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า อทินนาทานพึงละได้เพราะอาศัยการ
ถือเอาแต่ของที่เขาให้ เรากล่าวเพราะอาศัยอะไร. ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวก
ในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราพึงถือเอาของที่เขามิได้ให้ เพราะ
เหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้น. อนึ่ง
เราพึงถือเอาของที่เขามิได้ให้ แม้ตนเองพึงติเตียนตนได้ เพราะอทินนาทาน
เป็นปัจจัย วิญญูชนพิจารณาแล้วพึงติเตียนได้ เพราะอทินนาทานเป็นปัจจัย.
เมื่อตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้ เพราะอทินนาทานเป็นปัจจัย. อทินนาทานนี้
นั่นแหละ เป็นตัวสังโยชน์ เป็นตัวนิวรณ์ อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้น
และกระวนกระวายเหล่าใด พึงเกิดขึ้นเพราะอทินนาทานเป็นปัจจัย เมื่อบุคคล
งดเว้นจากอทินนาทานแล้ว อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่า

นั้น ย่อมไม่มี คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า อทินนาทานพึงละได้ เพราะอาศัยการ
ถือเอาแต่ของที่เขาให้ เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้.
[41] ก็คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า มุสาวาทพึงละได้ เพราะอาศัยวาจา
สัตย์ เรากล่าวเพราะอาศัยอะไร ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อม
พิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราพึงกล่าวมุสาเพราะเหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด. เราปฏิบัติ
เพื่อละเพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้น อนึ่ง เราพึงกล่าวมุสา แม้ตนเองพึงติเตียน
ตนได้เพราะมุสาวาทเป็นปัจจัย วิญญูชนพิจารณาแล้วพึงติเตียนได้ เพราะ
มุสาวาทเป็นปัจจัย เมื่อตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้ เพราะมุสาวาทเป็นปัจจัย
มุสาวาทนี้นั่นแหละเป็นตัวสังโยชน์ เป็นตัวนิวรณ์.. อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุ
คับแค้นและกระวนกระวายเหล่าใดพึงเกิดขึ้นเพราะมุสาวาทเป็นปัจจัย เมื่อ
บุคคลงดเว้นจากมุสาวาทแล้ว อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวาย
เหล่านั้น ย่อมไม่มี คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า มุสาวาทพึงละได้ เพราะอาศัยวาจา
สัตย์ เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้.
[42] ก็คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ปิสุณาวาจาพึงละได้ เพราะอาศัยวาจา
ไม่ส่อเสียด เรากล่าวเพราะอาศัยอะไร. ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกในธรรม
วินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราพึงกล่าววาจาส่อเสียด เพราะเหตุแห่ง
สังโยชน์เหล่าใด เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์ เหล่านั้น อนึ่ง เราพึง
กล่าววาจาส่อเสียด แม้ตนเองพึงติเตียนตนได้เพราะวาจาส่อเสียดเป็นปัจจัย.
วิญญูชนพิจารณาแล้ว พึงติเตียนได้เพราะวาจาส่อเสียดเป็นปัจจัย. เมื่อตาย
ไป ทุคติเป็นอันหวังได้ เพราะวาจาส่อเสียดเป็นปัจจัย ปิสุณาวาจานี้นั่นแหละ
เป็นตัวสังโยชน์ เป็นตัวนิวรณ์. อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระ-
วายเหล่าใด พึงเกิดขึ้นเพราะวาจาส่อเสียดเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลงดเว้นจาก

วาจาส่อเสียดแล้ว อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่านั้น ย่อม
ไม่มี คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ปิสุณาวาจาพึงละได้ เพราะอาศัยวาจาไม่ส่อเสียด
เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้.
[43] ก็คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความโลภด้วยสามารถความกำหนัด
พึงละได้ เพราะอาศัยความไม่โลภด้วยสามารถความกำหนัด เรากล่าวเพราะ
อาศัยอะไร. ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้
ว่า เราพึงมีความโลภด้วยสามารถความกำหนัด เพราะเหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด
เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้น อนึ่ง เราพึงมีความโลภด้วยสามารถ
ความกำหนัด แม้ตนเองพึงติเตียนตนได้ เพราะความโลภด้วยสามารถแห่ง
ความกำหนัดเป็นปัจจัย. วิญญูชนพิจารณาแล้วพึงติเตียนได้ เพราะความโลภ
ด้วยสามารถแห่งความกำหนัดเป็นปัจจัย. เมื่อตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้
เพราะความโลภด้วยสามารถความกำหนัดเป็นปัจจัย ความโลภด้วยสามารถ
ความกำหนัดนี่นั่นแหละ เป็นตัวสังโยชน์เป็นตัวนิวรณ์. อนึ่ง อาสวะที่เป็น
เหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่าใด พึงเกิดขึ้นเพราะความโลภด้วยสามารถ
ความกำหนัดเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลไม่โลภด้วยสามารถความกำหนัด อาสวะที่
เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่านั้น ย่อมไม่มี คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า
ความโลภด้วยสามารถความกำหนัด พึงละได้ เพราะอาศัยความไม่โลภด้วย
สามารถความกำหนัด เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้.
[44] ก็คำที่กล่าวดังนี้ว่า ความโกรธด้วยความสามารถแห่งการนินทา
พึงละได้ เพราะอาศัยความไม่โกรธด้วยสามารถแห่งการนินทา คำนี้เรากล่าว
เพราะอาศัยอะไร ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณา
เห็นดังนี้ว่า เราพึงโกรธด้วยสามารถแห่งการนินทา เพราะเหตุแห่งสังโยชน์

เหล่าใด เราปฏิบัติ เพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้น อนึ่ง เราพึงโกรธด้วย
สามารถแห่งการนินทาแม้ตนเองพึงติเตียนตนได้ เพราะความโกรธด้วยสามารถ
แห่งการนินทาเป็นปัจจัย วิญญูชนพิจารณาแล้วพึงติเตียนได้ เพราะความโกรธ
ด้วยสามารถแห่งการนินทาเป็นปัจจัย เมื่อตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้ เพราะ
ความโกรธด้วยสามารถแห่งการนินทาเป็นปัจจัย ความโกรธด้วยสามารถแห่ง
การนินทานี้นั่นเหละ เป็นตัวสังโยชน์ เป็นตัวนิวรณ์ อนึ่ง อาสวะที่เป็น
เหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่าใด พึงเกิดขึ้น เพราะความโกรธด้วยสามารถ
แห่งการนินทาเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลไม่โกรธด้วยสามารถแห่งการนินทา
อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่านั้น ย่อมไม่มี คำที่เรากล่าว
ดังนี้ว่า ความโกรธด้วยสามารถแห่งการนินทา พึงละได้ เพราะอาศัยความ
ไม่โกรธด้วยสามารถแห่งการนินทา เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้.
[45] คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความคับแค้นด้วยสามารถความโกรธ
พึงละได้เพราะอาศัยความไม่คับแค้นด้วยสามารถความโกรธ เรากล่าวเพราะ
อาศัยอะไร ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้
ว่า เราพึงคับแค้นด้วยสามารถความโกรธ เพราะเหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด
เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้น อนึ่ง เราพึงคับแค้นด้วยสามารถ
ความโกรธ แม้ตนเองพึงติเตียนตนได้ เพราะความคับแค้นด้วยสามารถแห่ง
ความโกรธเป็นปัจจัย วิญญูชนพิจารณาแล้ว พึงติเตียนได้ เพราะความคับแค้น
ด้วยสามารถแห่งความโกรธเป็นปัจจัย เมื่อตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้ เพราะ
ความคับแค้นด้วยสามารถแห่งความโกรธเป็นปัจจัย ความคับแค้นด้วยสามารถ
แห่งความโกรธนี้นั่นแหละ เป็นตัวสังโยชน์ เป็นตัวนิวรณ์ อนึ่ง อาสวะที่
เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่าใด พึงเกิดขึ้น เพราะความคับแค้น

ด้วยสามารถความโกรธเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลไม่คับแค้นด้วยสามารถความโกรธ
อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่านั้น ย่อมไม่มี คำที่เรากล่าว
ดังนี้ว่า ความคับแค้นด้วยสามารถความโกรธพึงละได้ เพราะอาศัยความไม่
คับแค้นด้วยสามารถความโกรธ เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้.
[46] คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความดูหมิ่นท่าน พึงละได้ เพราะอาศัย
ความไม่ดูหมิ่นท่าน เรากล่าวเพราะอาศัยอะไร ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกใน
ธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราพึงดูหมิ่นท่าน เพราะเหตุแห่ง
สังโยชน์เหล่าใด เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้น อนึ่ง เราพึงดู
หมิ่นท่าน แม้ตนเองพึงติเตียนตนได้ เพราะความดูหมิ่นท่านเป็นปัจจัย วิญญูชน
พิจารณาแล้วพึงติเตียนตนได้ เพราะความดูหมิ่นท่านเป็นปัจจัย เมื่อตายไป
ทุคติเป็นอันหวังได้ เพราะความดูหมิ่นท่านเป็นปัจจัย ความดูหมิ่นท่านนี้นั่น
แหละ เป็นตัวสังโยชน์ เป็นตัวนิวรณ์ อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและ
กระวนกระวายเหล่าใดพึงเกิดขึ้น เพราะความดูหมิ่นท่านเป็นปัจจัย เมื่อบุคคล
ไม่ดูหมิ่นท่าน อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่านั้น
ย่อมไม่มี คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความดูหมิ่นท่าน พึงละได้เพราะอาศัยความ
ไม่ดูหมิ่นท่าน เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้.
ดูก่อนคฤหบดี ธรรม 8 ประการที่เรากล่าวโดยย่อ ไม่ได้จำแนกโดย
พิศดาร ย่อมเป็นไปเพื่อละ เพื่อตัดขาดโวหารในวินัยของพระอริยะนั้น เหล่า
นี้แล ดูก่อนคฤหบดี แต่เพียงเท่านี้จะได้ชื่อว่าเป็นการตัดขาดโวหารทั้งสิ้น
ทุกสิ่งทุกอย่าง โดยประการทั้งปวง ในวินัยของพระอริยะ หามิได้.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ก็อย่างไรเล่า จึงจะ
ได้ชื่อว่าเป็นการตัดขาดโวหารทั้งสิ้น ทุกสิ่งทุกอย่าง โดยประการทั้งปวง ใน

วินัยของพระอริยะ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็การตัดขาดโวหารทั้งสิ้น ทุกสิ่ง
ทุกอย่าง โดยประการทั้งปวง ในวินัยของพระอริยะ มีด้วยประการใด ขอ
พระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า ด้วยประการนั้นเถิด.
ดูก่อนคฤหบดี ถ้าอย่างนั้น ท่านจงพึง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.
โปตลิยคฤหบดีทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว .

อุปมา 7 อย่าง


[47] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนคฤหบดี
เปรียบเหมือนสุนัขอันความเพลียเพราะความหิวเบียดเบียนแล้ว พึงเข้าไปยืน
อยู่ใกล้เคียงของนายโคฆาต นายโคฆาตหรือลูกมือของนายโคฆาตผู้ฉลาด พึง
โยนร่างกระดูกที่เชือดชำแหละออกจนหมดเนื้อแล้ว เปื้อนแต่เลือดไปยังสุนัข
ฉันใด ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สุนัขนั้นแทะร่าง
กระดูกที่เชือดชำแหละออกจนหมดเนื้อ เปื้อนแต่เลือด จะพึงบำบัดความเพลีย
เพราะความหิวได้บ้างหรือ.
ไม่ได้เลยพระองค์ผู้เจริญ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเป็นร่างกระดูก
ที่เชือดชำแหละออกจนหมดเนื้อ เปื้อนแต่เลือด และสุนัขนั้นพึงมีแต่ส่วนแห่ง
ความเหน็ดเหนื่อยคับแค้นเท่านั้น.
ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เปรียบด้วยร่างกระดูก มีทุกข์มาก
มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความ
เป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็น
ต่าง ๆ อาศัยความเป็นต่าง ๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว